ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ให้แม่สุกรมีลูกดกมากขึ้น ประเทศตันฉบับคุณแม่ลูกดก คือ เดนมาร์ก จำนวนลูกหมูที่เกิดขึ้นในเดนมาร์กเพิ่มขึ้น 2.3 ลูกสุกรตั้งแต่ปี 2007(ปี 2017=33.3 p/s/y) แต่ก็แลกกับน้ำหนักการหย่านมลดลงเกือบ 1 กิโลกรัม ในขณะเดียวกัน ทิศทางของการลดการใช้ยาปฏิชวนะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกหมูดูดนม ดังนั้นการให้อาหารเลียราง(creep feed)ที่มีคุณภาพ ก็จะเป็นการช่วยลูกหมูดูดนมอีกทาง
การผสมโปรไบโอติกลงในอาหารเลียราง นอกเหนือจากการใช้ในช่วงต่างๆปกติ เช่น อนุบาล แม่พันธุ์อุ้มท้องระยะท้าย เป็นต้น เริ่มมีการศึกษาและนำมาใช้กันมากขึ้น จากเหตุผลข้างต้น
ประเด็นสำคัญของแบคทีเรียโปรไบโอติก ป้องกันจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคจากการชิดกับพื้นผิวเยื่อบุผิวในลำไส้พร้อมกันขัดขวางการเจริญเติบโตของเชื้อโรคผ่านการผลิตของสารต้านจุลชีพ(bacteriocin), เพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์และ จำกัดจำนวนของสารอาหารที่ไม่ได้ย่อย ดังนั้นปริมาณของอาหารที่ไม่ได้ย่อยและความเสี่ยงของการเจริญเติบโตของเชื้อโรคจะลดลงอย่างมาก
สายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
จุลินทรีย์ในลำไส้มีประมาณ 400 สายพันธุ์ สำหรับที่ใช้เป็นโปรไบโอติกในการผลิตสุกร ได้แก่ Enterococci faecium, กลุ่ม Bacillus, กลุ่ม Lactobacillus, Saccharomyces cerevisiae และ Bifidobacterium bifidum สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือโปรไบโอติกที่มีสายพันธุ์ Bacillus subtilis และ Bacillus licheniformis เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โปรไบโอติกเหล่านี้จะเพิ่มกิจกรรมของไลเปสและทริปซินในระบบย่อยอาหารของหมูซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารและปรับปรุงการเปลี่ยนอาหารจึงมั่นใจได้ว่าน้ำหนักหย่านมที่เหมาะสมที่สุดหลังจากการดูดนม
จากการศึกษาในประเทศเดนมาร์ก พบว่าอาหารเลียรางที่เสริมโปรไบโอติกโปรไบโอติกที่ใช้สายพันธุ์ Bacillus แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการเติบโตที่เพิ่มขึ้นและลดอัตราการตาย ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (รูปที่ 2,3)
การเสริมจุลินทรีย์กลุ่มโปรไบโอติกช่วยเพิ่มผลผลิตและสุขภาพของ ลดอาการท้องเสียของ เพิ่มความพร้อม ในการใช้สารอาหารและอัตราการดูดซึมและเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของสุกรตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหย่านม นั่นคือเป็นการพัฒนาสุขภาพของลำไส้(Gut health)ตั้งแต่แรกเกิด ให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงสุกร พบกันใหม่ในฉบับหน้าขอบคุณครับ
แปลและเรียบเรียงโดย น.สพ. จักรกฤษณ์ ประเสริฐ
https://www.pigprogress.net/Health/Articles/2018/4/Probiotics-in-creep-feed-for-piglets-264154E/